ประวัติความเป็นมา
ตำบลแม่พริก มีแม่น้ำแม่พริกไหลผ่าน สมัยแรกที่มีการตั้งถิ่นฐานเป็นพวกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน คือชาวไทลื้อโดยอพยพมาจากดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
จากนั้นขุนไพร พริกเขตุ ซึ่งเป็นพ่อขุนในสมัยนั้น ได้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้น โดยได้ใช้ชื่อว่า “บ้านแม่พริก” โดยมาตังหมู่บ้านที่ทุ่งมะแตก และบ้านสันจำปา ต่อมาจึงตั้งแขวงที่บ้านแม่พริก หมู่ที่ 1 หลังจากตั้งเป็นอำเภอแม่พริกแล้ว ได้ย้ายอำเภอไปตั้งที่บ้านแม่สรวย เพราะขาดแคลนน้ำ ตำบลแม่พริกได้ยุบรวมกับตำบลแม่สรวย เมื่อปี พ.ศ.2486 และได้แยกออกเป็นตำบลแม่พริกอีกในปี พ.ศ.2488 จนถึงปัจจุบัน
พื้นที่
พื้นที่ทั้งหมด 23,772.5 0 ไร่ หรือ 38.036 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่พักอาศัย 2,240.15 ไร่ พื้นที่ตั้งของหน่วยงานภาครัฐ 100 ไร่ สวนสาธารณะ / นันทนาการ 69 ไร่ พื้นที่เกษตรกรรม 10,000 ไร่ พื้นที่ตั้งสถานศึกษา 50 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 16,313.40 ไร่
สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริกแบ่งเป็นลักษณะตามสภาพความลาดชันได้ 3 ลักษณะ คือ 1. ที่ลาดชัน เป็นพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ได้แก่
1.บริเวณหมู่ 4, 5, 6 เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบล สภาพพื้นที่เป็นป่าต้นน้ำลำธารน้ำแม่พริก, ห้วยแห้ง และห้วยลอ
2. ที่ลาดเชิงเขา เป็นพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเล 500 - 550 เมตร อยู่ทางตอนกลางของพื้นที่ค่อนไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านบ้านปางอ้อย, บ้านโฮ่ง, และบ้านปางซาง
3. ที่ราบริมแม่น้ำ อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 400 - 500 เมตร ทางทิศตะวันตกของตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำลาว และที่ราบปากลำน้ำแม่พริกที่ไหลลงสู่น้ำลาว บริเวณบ้านแม่พริก, บ้านหัวทุ่ง, บ้านสันจำปา, บ้านชุมชนสันจำปา, บ้านหัวริน, บ้านทุ่งฟ้าผ่า และบ้านป่าซางพัฒนา
ประชากร
ประชากร ตำบลแม่พริกเป็นตำบลเดียวในอำเภอแม่สรวย ที่ไม่มีประชากรแฝง หรือชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่อพยพมาจากอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และบางส่วนมาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงเป็นการตั้งถิ่นฐานระบบเครือญาติ ประชากรตำบลแม่พริกแยกตามทะเบียนราษฎร์ จานวน 1,938 ครัวเรือน รวม 5,947 คน แยกเป็นชาย 3,0 24 คน หญิง 2,9 23 คน
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเจดีย์หลวง และตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลสันกลาง และ ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลป่าแดด และ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเจดีย์หลวง และตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลสันกลาง และ ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลป่าแดด และ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
อาชีพ
ส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม ทำไร่ทำสวน
สถานภาพทางสังคม
สถานภาพทางสังคม ตำบลแม่พริกเป็นตำบลที่ไม่มีประชากรแฝงอาศัยอยู่ มีสถานภาพทางสังคมส่วนใหญ่เป็นระบบเครือญาติ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีกิจกรรมร่วมกันทางด้านการดำเนินชีวิต, การศาสนา และวัฒนธรรมที่เหมือนกัน
ด้านการศึกษา
ตำบลแม่พริกมีศักยภาพทางการศึกษา ดังนี้
การศึกษาในระบบ มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 5 โรงเรียน
การศึกษานอกระบบ การศึกษานอกโรงเรียน โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแม่สรวย มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 138 คน แยกเป็นระดับประถมศึกษา 11 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 58 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 69 คน
ด้านศาสนา
ตำบลแม่พริกมีการดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนาควบคู่ไปกับกิจกรรมด้านประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีที่สำคัญ คือ การแห่เทียนเข้าพรรษา, ลอยกระทง, สงกรานต์, ปอยหลวง, การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ( เลี้ยงผีเจ้าบ้าน), การทำบุญเดือนสิบ, การตักบาตรเทโว, การเลี้ยงผีขุนน้ำ และงานสลากภัตต์
ด้านสาธารณสุข
ปัจจุบันตำบลแม่พริก ได้รับบริการด้านสาธารณสุขมูลฐานครบทุกหมู่บ้าน จากการที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบล ทำให้ราษฎรได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลโดยตรงจากโรงพยาบาลแม่สรวย
จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข
นอกจากนี้ตำบลแม่พริกยังมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นประจำคือ การรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การทำหมันสุนัขและแมว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การควบคุมโรคระบาดที่อาจเกิดจากสัตว์ปีกและสัตว์มีกีบทุกชนิด
สรุปผลระดับการพัฒนาของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลแม่พริกจากข้อมูล กชช. 2ค ปี 2548
หมู่ที่ 1 บ้านแม่พริก จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 2 บ้านหัวทุ่ง จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 3 บ้านสันจำปา จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3
หมู่ที่ 4 บ้านปางกลาง จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 5 บ้านปางต้นผึ้ง จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 6 บ้านปางอาณาเขต จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งฟ้าผ่า จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3
หมู่ที่ 8 บ้านหัวริน จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3
หมู่ที่ 9 บ้านปางอ้อย จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3
หมู่ที่ 10 บ้านโฮ่ง จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 11 บ้านปางซาง จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2
หมู่ที่ 12 บ้านชุมชนสันจำปา จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3
หมู่ที่ 13 บ้านป่าซางพัฒนา จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3
ลักษณะสภาพภูมิอากาศ
ตำบลแม่พริกมีลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
1. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย1 8 องศาเซลเซียส
2. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม -พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส
3. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน -กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรตำบลแม่พริกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพรับจ้างทั่วไป และประกอบอาชีพอื่น ๆ อาชีพรองราษฎรในพื้นที่จะเป็นอาชีพเสริมหลังจากการประกอบอาชีพหลักแล้ว คือ การปลูกพืชหมุนเวียนที่มีอายุการเก็บเกี่ยวระยะสั้น เช่น การปลูกถั่วเหลือง, การปลูกพริก, การทำสวนผัก, การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการปลูกใบยาสูบ การประกอบธุรกิจในชุมชนเป็นการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก โดยใช้แรงงานใน ครอบครัวและใช้สถานที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ประกอบการ และมีสถาบันทางการเงินที่สนับสนุนให้ชุมชนนามาประกอบอาชีพส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุน พอสรุปได้ดังนี้
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์การเกษตรแม่สรวย จากัด
3. กลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บ้าน
4. กองทุนหมุนเวียนภายในหมู่บ้าน ( หมู่บ้านละ 1 ล้าน )
5. กองทุนหมุนเวียนหมู่บ้านละ แสน ขององค์การบริหารส่วนตำบล
6. ธนาคารกรุงเทพ สาขาแม่สรวย
7. ธนาคารออมสิน สาขาเวียงป่าเป้า
8. กองทุน กขคจ .
9. กองทุนที่ส่วนราชการต่าง ๆ ได้ให้การสนับสนุนให้กับกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
การบริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม
-ถนนเสริมคอนกรีต 16 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ 56 สาย
-ถนนลาดยางผิวเรียบ-สาย
-ถนนดินลูกรัง104สาย
การโทรคมนาคม
-ที่ทาการไปรษณีย์โทรเลข-แห่ง
-โทรศัพท์สาธารณะ25แห่ง
-สถานีโทรคมนาคม อื่นๆ-แห่ง
การไฟฟ้า
อัตราการมีและการใช้ไฟฟ้าของจำนวนหมู่บ้านและจำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 93.5%
แหล่งน้ำธรรมชาติ
-ลำธารลำห้วย 56สาย
-หนองน้ำสาธารณะ 19 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-ฝาย 39แห่ง
–บ่อน้ำสาธารณะ 17จุด
-บ่อโยก 12 แห่ง
-ประปาหมู่บ้าน 10แห่ง
-อื่นๆ-แห่ง
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ
-ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ลำปาง พะเยา ถึงทางแยกเข้าสู่ถนนหลวง หมายเลข 118 จนถึงตำบลแม่พริก ระยะทางประมาณ 589 กิโลเมตรหรือ
-ใช้ทางหลวงหมายเลขหนึ่ง พหลโยธินแยกเข้าสายอยุธยาอ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ มาแยกทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 101 จนถึงอำเภอร้องกวาง แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 103 จนถึงทางหลวงหมายเลข 1 ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ผ่านพะเยาจนถึงอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 735 กิลโลเมตร
-ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ลำปาง พะเยา ถึงทางแยกเข้าสู่ถนนหลวง หมายเลข 118 จนถึงตำบลแม่พริก ระยะทางประมาณ 589 กิโลเมตรหรือ
-ใช้ทางหลวงหมายเลขหนึ่ง พหลโยธินแยกเข้าสายอยุธยาอ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ มาแยกทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 101 จนถึงอำเภอร้องกวาง แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 103 จนถึงทางหลวงหมายเลข 1 ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ผ่านพะเยาจนถึงอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 735 กิลโลเมตร